การส่งคำสั่งซื้อขาย

              วิธีการส่งคำสั่งเบื้องต้น

       การเปิดสถานะ Open Position โดยทำการเปิดสถานะตามการคาดการณ์

1. สถานะซื้อ Open Long (คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น)

2. สถานะขาย Open Short (คาดว่าจะปรับตัวลดลง)

       การปิดสถานะ Close Position โดยเลือกได้ 2 วิธี

1. เลิกลงทุนก่อนสัญญาหมดอายุ โดยสร้างฐานะตรงกันข้าม หรือ Offset Position เช่น

       - ซื้อ สัญญาไว้ (Open Long) ให้ล้างสถานะโดยการ ขาย สัญญา (Close Short)

       - ขาย สัญญาไว้ (Open Short) ให้ล้างสถานะโดยการ ซื้อ สัญญา (Close Long)

2. ถือครองฐานะไปจนสัญญาหมดอายุ

              เทคนิคการส่งคำสั่ง Stop Order

              Stop Order คืออะไร

        Stop Order หมายถึง เป็นคำสั่งที่มีเงื่อนไขรั้งไว้ แต่จะส่งก็ต่อเมื่อเงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้นเป็นจริง เช่น ถ้าขณะนี้ GFM11 มีราคาซื้อขายล่าสุด (Last) เท่ากับ 20,000 บาท นักลงทุน ค สามารถส่ง Stop Order เพื่อขาย GFM11 ที่ราคาเท่ากับ 19,500 บาท โดยมีเงื่อนไขที่รั้งไว้คือ เมื่อราคา Last น้อยกว่าหรือเท่ากับ 19,500 บาท หลังจากที่นักลงทุน ค ส่ง Stop Order ดังกล่าวออกไป นักลงทุน ค จะเห็นคำสั่งเสนอขายของตนที่ราคา 19,500 บาท ทันทีที่ราคา Last น้อยกว่าหรือเท่ากับ 19,500 บาท

      คำสั่ง Stop Order จึงเป็นคำสั่งที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น Stop Loss เพื่อหยุดขาดทุน และ Lock-in Profit เพื่อล็อคกำไรไว้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม Stop Order ยังสามารถนำไปใช้ในกลยุทธ์ที่ซับซ้อนมากกว่านี้ได้ด้วย เช่น ในกรณีที่ นักลงทุนต้องการซื้อ Gold Futures เมื่อราคาสามารถปรับตัวผ่านแนวต้านหลักไปได้ นักลงทุนก็สามารถใช้ Stop Order ส่งคำสั่งประเภทนี้ได้ล่วงหน้า

              เงื่อนไขและลักษณะของคำสั่ง Stop Order

       เมื่อเทียบกับการส่งคำสั่งซื้อขายปกติ ที่นักลงทุนอาจำแจะต้องระบุจำนวนและราคาของสัญญาที่ต้องการซื้อขายแล้ว การส่งคำสั่ง Stop Price นี้ นักลงทุนต้องระบุเพิ่มเติมอีก 3 อย่าง คือ

       1. สัญญาที่ใช้เป็นเงื่อนไข (Stop Series) ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาเดียวกันหรือต่างจากสัญญาที่ต้องการซื้อขายก็ได้

       2. เงื่อนไขในการรั้งคำสั่ง (Stop Condition) ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประเภทที่นักลงทุนสามารถเลือกใช้ อันได้แก่

    * Bid ≤ Stop Price  (ราคาเสนอซื้อสูงสุด น้อยกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่รั้งไว้)

    * Bid ≥ Stop Price  (ราคาเสนอซื้อสูงสุด มากกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่รั้งไว้)

    * Offer ≤ Stop Price (ราคาเสนอขายต่ำสุด น้อยกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่รั้งไว้)

    * Offer ≥ Stop Price (ราคาเสนอขายต่ำสุด มากกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่รั้งไว้)

    * Last ≤ Stop Price (ราคาเสนอซื้อขายล่าสุด น้อยกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่รั้งไว้)

    * Last ≥ Stop Price (ราคาเสนอซื้อขายล่าสุด มากกว่าหรือเท่ากับ ราคาที่รั้งไว้)

       3. ราคาที่รั้งไว้ (Stop Price)

กล ไกลของ Stop Order จะทำการส่งคำสั่งซื้อขายที่ระบุไว้ออกโดยอัตโนมัติ เมื่อราคาของ Stop Series ที่ระบุไว้ตาม Stop Condition ขยับขึ้นหรือลงไปถึง ราคา Stop Price  นอกจากนั้น Stop Order ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

     * Stop Market Order คือ กําหนดให้ส่งคําสั่งแบบ Market Order เข้าไปในระบบซื้อขายทันทีที่เงื่อนไขที่รั้งไว้ (Stop Condition) เป็นจริง (นักลงทุนไม่ต้องระบุราคาซื้อขาย เพราะเป็น Market Order)

     * Stop Limit Order คือ กําหนดให้ส่งคําสั่งแบบ Limit Order เข้าไปในระบบทันทีที่เงื่อนไขที่รั้งไว้ (Stop Condition) เป็นจริง

      แนะนำว่าให้เริ่มจากการใช้เงื่อนไขที่ง่ายที่สุดคือ Last ≥ Stop Price และ Last ≤ Stop Price ก่อน นอกจากนี้ควรกำหนด Stop Series ให้เป็นสัญญาเดียวกับที่ตนต้องการซื้อขายเท่านั้น อย่าใช้สัญญาอื่นซึ่งอาจจะทำให้งงได้ หลังจากใช้ Stop Order แบบพื้นฐานคล่องแล้วจึงค่อยหัดใช้แบบอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น

 ตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 1 การใช้ Stop Market Order เพื่อ Stop Loss

สมมติ ว่านายแดงได้ซื้อ Open Long Gold Futures สัญญา GFM11 ที่ราคา 24,100 บาท จำนวน 5 สัญญา โดยนายแดงคาดว่าถ้าราคาหลุดต่ำกว่า 23,000 บาทก็จะขายเพื่อหยุดขาดทุนทันทีทุกราคา ในกรณีนี้ นายแดงจึงตัดสินใจส่งคำสั่ง Stop Order เพื่อเตรียมปิดฐานะเพื่อหยุดขาดทุนไว้ โดยระบุรายละเอียดดังนี้

   1. คำสั่งหลัก: เลือก Type เป็น Market Order เพื่อขายปิด (Short Close) สัญญา GFM11 จำนวน 5 สัญญา

   2. Stop Series: GFM11

   3. Stop Condition: Last ≤ Stop Price

   4. Stop Price: 22,990

 หลังจากนายแดงส่งคำสั่งข้างต้น ทันทีที่ราคาซื้อขายล่าสุดของ GFM11 ต่ำกว่า 23,000 บาท นายแดงจะสามารถหยุดขาดทุนได้ทันที

stop_order1

   5.การเสนอซื้อหรือเสนอขายมีราคาเสนอซื้อหรือเสนอขายเลี่ยนแปลงจากราคาซื้อขายล่าสุด (Last Execution Price) เกินกว่าอัตราที่ตลาดอนุพันธ์กำหนด ดังต่อไปนี้

*ข้อควรระวัง การใช้ Type เป็น Market order(ซื้อขายที่ราคาตลาด) ควรใช้กับสินค้าที่มีสภาพคล่อง เพราะสินค้าบางตัวสภาพคล่องต่ำ ทำให้ราคาอาจสูงหรือต่ำกว่าไปจากราคาปกติของตลาดได้ 

 ตัวอย่างที่ 2 การใช้ Stop Limit Order เพื่อ Stop Loss

สมมติ ว่านายเขียวได้ขาย Open Short Gold Futures สัญญา GFQ11 ที่ราคา 23,500 บาท จำนวน 20 สัญญา โดยนายเขียวคาดว่าถ้าราคาสัมผัส 24,400 บาทก็จะหยุดขาดทุนที่ราคา 24,500 บาท ในกรณีนี้ นายเขียวจึงตัดสินใจส่งคำสั่ง Stop Order เพื่อเตรียมเพื่อหยุดขาดทุนไว้โดยระบุรายละเอียดดังนี้

   1. คำสั่งหลัก: เลือก Type เป็น Limit Order เพื่อซื้อปิด (Long Close) สัญญา GFQ11 จำนวน 20 สัญญา         และราคาซื้อเท่ากับ 24,500 บาท

   2. Stop Series: GFQ11

   3. Stop Condition: Last ≥ Stop Price

   4. Stop Price: 24,400

 หลัง จากนายเขียวส่งคำสั่งข้างต้น ทันทีที่ราคาซื้อขายล่าสุดของ GFQ11 สูงกว่าหรือเท่ากับ 24,400 บาท นายเขียวจะมีคำสั่งซื้อกลับเพื่อหยุดขาดทุนส่งเข้าไปที่ราคา 24,500 บาท จำนวน 20 สัญญา

stop_order2

*Order ที่ส่งโดย Stop order จะรออยู่ที่ระบบ รอจนกว่าเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ระบบถึงจะส่ง order นี้เข้าไปที่ตลาดฯ

 

            เทคนิคการส่งคำสั่ง Combination Order

              Combination Order คืออะไร

       เป็นคำสั่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตั้งแต่ 1 Series ขึ้นไป สามารถทำได้เพียงแค่ส่งคำสั่งซื้อขาย 1 คำสั่ง และระบบการซื้อขายจะทำการจับคู่การซื้อขายให้ทุก Series ที่สั่งซื้อขายพร้อมๆ กันไปเลยในเวลาเดียวกัน

              ต่างจากแบบ Outright (การส่งคำสั่งซื้อขาย Order ละ 1 Series) อย่างไร

       การส่งคำสั่งแบบ Combination เช่น S50M11U11 ดังกล่าว จะมีข้อแตกต่างกับการส่งคำสั่งซื้อขาย SET50 Index Futures ใน 2 Series แบบ Outright ดังนี้ คืี้อ

- การจับคู่ ในการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Outright 2 คำสั่ง เช่น ส่งคำสั่งซื้อ S50M11 1 คำสั่ง และส่งคำสั่งขาย S50U11 1 คำสั่ง นั้น เป็นไปได้ว่าคำสั่งซื้อและคำสั่งขายทั้ง 2 คำสั่ง นั้น อาจไม่ได้รับการจับคู่พร้อมกันหรืออาจได้รับการจับคู่แค่ Series เดียว โดยที่อีก Series หนึ่งอาจไม่ได้รับการจับคู่การซื้อขายก็ได้ ในขณะที่การส่งคำสั่งแบบ Combination Order คือ S50M11U11 นั้น ถ้าคำสั่งได้รับการจับคู่ จะต้องได้รับการจับคู่ทั้ง Series ที่ซื้อ และ Series ที่ขาย หรือถ้าไม่ได้ก็ต้องไม่ได้รับการจับคู่ทั้ง 2 Series

- การเสนอราคาซื้อขาย ในการส่งคำสั่งซื้อขายแบบ Outright 2 คำสั่ง จะต้องสั่งซื้อขายแต่ละครั้งด้วยราคา Futures เช่น ซื้อ S50M11 ที่ 484.5 และขาย S50U11 ที่ 486.5 เป็นต้น แต่ในขณะที่การส่งคำสั่งแบบ Combination นั้น จะส่งคำสั่งเป็นส่วนต่างของราคา Futures เช่น - 2 เป็นต้น ตามตัวอย่างดังรูป

combination1

- เมื่อรายการถูกจับคู่แล้ว Series จะแยกออกจากกัน และต้นทุนของทั้ง 2  Series จะมีส่วนต่างราคากันตามที่ลูกค้าระบุที่ช่อง Price ตอนส่งคำสั่งซื้อขาย(Series ไกล – Series ใกล้) ตามตัวอย่างดังรูป

combination2

              ปัจจุบัน มีคำสั่งซื้อขายของ SET50 Index Futures ทั้ง Buy Combination กับ Sell Combination อยากรู้ว่าหมายความว่าอะไร

Combination ความหมาย
Buy

ซื้อ Series เดือนไกล และ
ขาย Series เดือนใกล้

(Buy Far & Sell Near)
Sell

ขาย Series เดือนไกล และ
ซื้อ Series เดือนใกล้

(Sell Far & Buy Near)

              ตัวอย่าง
              Buy Combination หมายถึง Buy Far และ Sell Near

              เช่น Buy S50M11U11 ที่ราคา 0.5 นั่นก็คือ ให้ระบบการซื้อขายทำการจับคู่คำสั่งขายใน
Series เดือนใกล้ และจับคู่คำสั่งซื้อใน Series เดือนไกล พร้อมๆ กัน ที่ราคาส่วนต่างของ
2 Series เท่ากับ 0.5 และสมมติว่าระบบการซื้อขายจับคู่ให้ได้เป็นดังนี้

- Sell Near: S50M11 ที่ 500.0
- Buy Far: S50U11 ที่ 500.5

              สรุปกลยุทธ์การทำกำไร Combination

- การขาย(Short) Combination เราจะได้กำไรก็ต่อเมื่อ Spread แคบลง เพราะฉะนั้นจำไว้ว่า “ขาย Spread ตอนกว้างๆ แล้วไปซื้อ Spread ตอนแคบๆ” จะได้กำไร

- การซื้อ (Long) Combination เราจะได้กำไรก็ต่อเมื่อ Spread กว้างขึ้น เพราะฉะนั้นจำไว้ว่า “ซื้อ Spread ตอนแคบๆ แล้วไปขาย Spread ตอนกว้างๆ” จะได้กำไร