เรียนรู้อนุพันธ์เบื้องต้น

              ตราสารอนุพันธ์ คืออะไร

       ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) หมายถึง สินทรัพย์ทางการเงินชนิดหนึ่งที่มูลค่าของตัวเองขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นที่ เรียกว่า สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ตราสารอนุพันธ์มีหลายรูปแบบเช่น ในรูปแบบที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นการทำสัญญากันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายที่ทำการตกลงกัน ณ วันนี้ เพื่อซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการระบุประเภท จำนวน และเวลาส่งมอบสินค้ากัน ที่สำคัญคือตกลงราคากันไว้ ณ วันนี้ เพื่อนำมาใช้เป็นราคาที่ทำการซื้อขายเมื่อถึงเวลาที่ตกลงจะส่งมอบสินค้ากัน ในอนาคต โดยตราสารอนุพันธ์นั้นมีหลายประเภท แต่ที่มักซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ได้แก่ Futures และ Options

       ซึ่งการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์จะเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถ "ขายก่อนซื้อ" หรือ "ซื้อก่อนขาย" ก็ได้ จึงทำให้เกิดโอกาสทำกำไรในสองขา โดยมีจุดเด่นที่ใช้เงินลงทุนน้อย ผู้ลงทุนมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูง

              สัญญาฟิวเจอร์ส (Futures)

       สัญญาฟิวเจอร์ส คือสัญญาที่ตกลงจะซื้อจะขายสินค้าใดๆ ซึ่งทำขึ้นระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย ที่ตกลงกันในวันนี้เพื่อทำการจะซื้อจะขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าอย่างหนึ่งในอนาคต โดยกำหนดชำระเงินตามราคาที่ตกลงกันไว้และวันส่งมอบในอนาคตอย่างชัดเจน

              สัญญาออปชั่น (Options)

       เป็นสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อ (หรือผู้ถือ) และผู้ขาย (หรือผู้ออก) โดยผู้ขายให้สิทธิกับผู้ซื้อที่จะทำการซื้อ (หรือขาย) สินค้าตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยผู้ซื้อสามารถเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าออปชั่น ที่เรียกว่า ค่าพรีเมี่ยม (Premium) ให้กับผู้ขายเป็นการตอบแทน เพื่อแลกกับการได้สิทธิตามสัญญานั้น ทั้งนี้ผู้ขายออปชั่น มีภาระต้องปฎิบัติตามสัญญาคือ ขายสินค้าให้ (หรือซื้อสินค้าจาก) ผู้ถือออปชั่นเมื่อผู้ถือ ออปชั่น ใช้สิทธิ

              รหัสเดือนของสัญญาอนุพันธ์

ชื่อเดือนภาษาไทย

ชื่อเดือนภาษาอังกฤษ

รหัสเดือน

มกราคม

January

F

กุมภาพันธ์

February

G

มีนาคม

March

H

เมษายน

April

J

พฤษภาคม

May

K

มิถุนายน

June

M

กรกฎาคม

July

N

สิงหาคม

August

Q

กันยายน

September

U

ตุลาคม

October

V

พฤศจิกายน

November

X

ธันวาคม

December

Z

 

 

 

 

 

 

 

 


              การอ่านชื่อย่อของสัญญาอนุพันธ์

สินค้าอ้างอิง

ชื่อย่อ

รหัสเดือน

SET50 Index Futures

S50

S50Z11

SET50 Index Options

S50C : Call Options,
S50P : Put Options

S50Z11C,
S50Z11P

50 Baht Gold Futures

GF

GFZ11

10 Baht Gold Futures

GF10

GF10Z11

Single Stock Futures

ชื่อย่อหลักทรัพย์

KTBZ11

Gold-D

GD

GDV17

       ตัวอย่างเช่น : S50Z11 คือฟิวเจอร์สที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 Index หมดอายุสัญญาเดือนธันวาคม 2011

              การปรับมูลค่าตามราคาตลาด (Mark to market)

       Mark to market คือ การคำนวณกำไร / ขาดทุนทุกๆสิ้นวันทำการ หากผู้ลงทุนได้กำไร “เงินประกัน (Margin)” จะเพิ่มขึ้น หากขาดทุนเงินประกันจะลดลง ตามจำนวนกำไร/ขาดทุนที่เกิดขึ้น โดยตลาดอนุพันธ์ฯ จะประกาศ Settlement Price หรือราคาที่ใช้ชำระราคาเพื่อใช้คำนวณกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันหลังตลาดฯปิด

       ราคาที่ใช้ชำระราคา (Settlement Price) จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
       1. Daily Settlement Price คือ ราคาที่ใช้ชำระราคาทุกสิ้นวัน โดยคำนวณมาจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 5 นาทีสุดท้ายของราคา Futures แต่ละสัญญา
       2. Final Settlement Price คือ ราคาที่ใช้ชำระราคาในวันซื้อขายวันสุดท้าย (Last Trading Day) โดยคำนวณมาจากราคาสินค้าอ้างอิง (Underlying Asset) ซึ่งแต่ละสินค้ามีการคำนวนที่แตกต่างกัน (รายละเอียดการคำนวณดูได้ที่ลักษณะสัญญาของแต่ละสินค้าอ้างอิง)

              การถือสัญญา จนสัญญาหมดอายุ

       ในกรณีที่ลูกค้าซื้อ หรือ ขายฟิวเจอร์ส และถือไว้จนสัญญาครบกำหนดอายุ สถานะการซื้อขายจะถูกปิดลงโดยอัตโนมัติ และคิดกำไร/ขาดทุนโดยใช้  “ราคาที่ใช้ชำระราคาวันสุดท้าย” หรือ “Final Settlement Price” มาชำระราคา เช่น ถ้าเป็น SET50 Index Futures จะคำนวณจากค่าดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้าย และบวกค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่น้อยที่สุด 3 ค่าออก และใช้ค่าทศนิยม 2 ตำแหน่ง

*สินค้าอ้างอิงอื่นๆสามารถดูวิธีการคำนวณจากลักษณะสัญญาของแต่สินค้าอ้างอิงได้

              การหยุดการซื้อขายเป็นการชั่วคราว (Circuit Breaker) : คลิกที่นี่